Title
ปัจจัยด้านคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี
Title Alternative
FACTORS OF SCHOOL ADMINISTRATORS' LEADERSHIP AFFECTING JOB PERFORMANCE ACCORDING IN TO RELATIONSHIP BETWEEN SCHOOLS AND COMMUNITIES IN SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF SUPHAN BURI PROVINCIAL PRIMARY EDUCATION

Organization : โรงเรียนวัดคีรีเจริญผล จ.สุพรรณบุรี
Classification :.DDC: 371.2
Description
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหาร โรงเรียน เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของผู้บริหารโรงเรียน เพื่อเปรียบเทียบระดับคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนระหว่างโรงเรียน ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เพื่อเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ระหว่างโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ และวิเคราะห์ปัจจัยด้านคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมี 6 ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านสติปัญญา ด้านบุคลิกภาพ ด้านความรับผิดชอบ ด้านฐานะสังคม และด้านการตัดสินใจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน ในโรงเรียนประถมศึกษารวม 414 คน จำแนกเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ 79 คน โรงเรียนขนาดกลาง 194 คน และโรงเรียนขนาดเล็ก 141 คน ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี ปีการศึกษา 2546 กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มตามระดับชั้นอย่างเป็น สัดส่วนตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าชนิด 5 ระดับประกอบด้วย คุณลักษณะความเป็นผู้นำซึ่งพัฒนาจากแนวคิดของ สต็อกดิลล์ จำนวน 30 ข้อ และ การปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ตามกรอบสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จำนวน 30 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับรวมเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ (frequencies) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณโดยวิธีแบบขั้นตอน (stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ระดับคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและเป็นรายด้าน และระดับคุณลักษณะความเป็น ผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน ได้แก่ โรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และ ขนาดใหญ่ไม่แตกต่างกัน 2. ระดับการปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของ ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 5 ด้าน ยกเว้น งานด้านการจัดตั้งกลุ่ม ชมรม สมาคม และมูลนิธิ อยู่ในระดับปานกลาง และระดับการปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ของผู้บริหารโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน 3. ปัจจัยด้านคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของผู้บริหารโรงเรียนสังกัด สำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวม คือ ด้านการตัดสินใจ และ ด้านฐานะทางสังคม เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ปัจจัยด้านคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านการให้บริการชุมชนด้านต่าง ๆ และ งานด้านการได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนจากชุมชน คือ ด้านการตัดสินใจ และบุคลิกภาพ ส่วนปัจจัยด้านคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านเกี่ยวกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน งานด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและหน่วยงานอื่น งานจัดตั้งกลุ่ม ชมรม สมาคม และมูลนิธิ และงานด้านการประชาสัมพันธ์ คือ ด้านการตัดสินใจ และฐานะทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: กาญจนบุรี
Email: tdc@kru.ac.th
Role: ประธานกรรมการที่ปรึกษา
Role: กรรมการที่ปรึกษา
Role: กรรมการที่ปรึกษา
Date
Created: 2546Title
ทักษะการบริหารที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา ตามทัศนะของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี
Title Alternative
DESIRABLE ADMINISTRATIVE SKILLS OF PRIMARY SCHOOL ADMINISTRATORS IN THE EDUCATION REFORM PERIOD AS PERCEIVED BY THE BASIC EDUCATION SCHOOL COMMITTEES OF PRIMARY SCHOOLS UNDER THE EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE SUPHAN BURI

Organization : โรงเรียนวัดคันทด จ.สุพรรณบุรี
Classification :.DDC: 371.2
Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน ประถมศึกษาในสภาพปัจจุบันและทักษะการบริหารที่พึงประสงค์ ในยุคปฏิรูปการศึกษา เปรียบเทียบทักษะการบริหารในสภาพปัจจุบันและทักษะการบริหารที่พึงประสงค์ ในยุคปฏิรูปการศึกษา เปรียบเทียบทักษะการบริหารที่พึงประสงค์ในยุคปฏิรูปการศึกษา ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นเพศชายและเพศหญิง และเพื่อสังเคราะห์ทักษะการบริหารที่พึงประสงค์ในยุคปฏิรูปการศึกษา ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี จำนวน 349 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น (reliability) เท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows version 10.0 สถิติทีใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบที (t – test) ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการบริหารตามสภาพปัจจุบันของผู้บริหารอยู่ในระดับมาก ทั้งใน ภาพรวมและรายด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านคือ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านความคิดรวบยอด ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านการเรียนการสอน และด้านเทคนิค ส่วนทักษะการบริหารที่พึงประสงค์ในยุคปฏิรูปการศึกษา ของผู้บริหารอยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยคือ ด้านการเรียนการสอน ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านความคิดรวบยอดและด้านเทคนิค ผลการเปรียบเทียบทักษะการบริหาร ในสภาพปัจจุบันและทักษะการบริหาร ที่ พึงประสงค์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนผลการเปรียบเทียบทักษะ การบริหารที่พึงประสงค์ ในยุคปฏิรูปการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามทัศนะของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพศชายและเพศหญิงไม่แตกต่างกัน ส่วนทักษะการบริหารที่พึงประสงค์ ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานที่มีความถี่สูงสุด ในแต่ละด้านเรียงตามลำดับได้แก่ ด้านมนุษยสัมพันธ์คือ เป็นผู้เสียสละเพื่อสร้างศรัทธาความเชื่อถือจากชุมชน ด้านการเรียนการสอนคือ การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้อย่างจริงจัง ด้านความรู้ความเข้าใจคือ สามารถให้คำปรึกษา แนะนำแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดี ด้านเทคนิคคือ นำเทคนิคใหม่ๆมาใช้ในการบริหาร และด้านความคิดรวบยอดคือ วิเคราะห์และ แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: กาญจนบุรี
Email: tdc@kru.ac.th
Role: ประธานกรรมการที่ปรึกษา
Role: กรรมการที่ปรึกษา
Role: กรรมการที่ปรึกษา
Date
Created: 2548-09-21


Title
ทักษะการบริหารที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา ตามทัศนะของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี
Title Alternative
DESIRABLE ADMINISTRATIVE SKILLS OF PRIMARY SCHOOL ADMINISTRATORS IN THE EDUCATION REFORM PERIOD AS PERCEIVED BY THE BASIC EDUCATION SCHOOL COMMITTEES OF PRIMARY SCHOOLS UNDER THE EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE SUPHAN BURI

Organization : โรงเรียนวัดคันทด จ.สุพรรณบุรี
Classification :.DDC: 371.2
Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน ประถมศึกษาในสภาพปัจจุบันและทักษะการบริหารที่พึงประสงค์ ในยุคปฏิรูปการศึกษา เปรียบเทียบทักษะการบริหารในสภาพปัจจุบันและทักษะการบริหารที่พึงประสงค์ ในยุคปฏิรูปการศึกษา เปรียบเทียบทักษะการบริหารที่พึงประสงค์ในยุคปฏิรูปการศึกษา ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นเพศชายและเพศหญิง และเพื่อสังเคราะห์ทักษะการบริหารที่พึงประสงค์ในยุคปฏิรูปการศึกษา ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี จำนวน 349 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น (reliability) เท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows version 10.0 สถิติทีใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบที (t – test) ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการบริหารตามสภาพปัจจุบันของผู้บริหารอยู่ในระดับมาก ทั้งใน ภาพรวมและรายด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านคือ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านความคิดรวบยอด ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านการเรียนการสอน และด้านเทคนิค ส่วนทักษะการบริหารที่พึงประสงค์ในยุคปฏิรูปการศึกษา ของผู้บริหารอยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยคือ ด้านการเรียนการสอน ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านความคิดรวบยอดและด้านเทคนิค ผลการเปรียบเทียบทักษะการบริหาร ในสภาพปัจจุบันและทักษะการบริหาร ที่ พึงประสงค์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนผลการเปรียบเทียบทักษะ การบริหารที่พึงประสงค์ ในยุคปฏิรูปการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามทัศนะของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพศชายและเพศหญิงไม่แตกต่างกัน ส่วนทักษะการบริหารที่พึงประสงค์ ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานที่มีความถี่สูงสุด ในแต่ละด้านเรียงตามลำดับได้แก่ ด้านมนุษยสัมพันธ์คือ เป็นผู้เสียสละเพื่อสร้างศรัทธาความเชื่อถือจากชุมชน ด้านการเรียนการสอนคือ การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้อย่างจริงจัง ด้านความรู้ความเข้าใจคือ สามารถให้คำปรึกษา แนะนำแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดี ด้านเทคนิคคือ นำเทคนิคใหม่ๆมาใช้ในการบริหาร และด้านความคิดรวบยอดคือ วิเคราะห์และ แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: กาญจนบุรี
Email: tdc@kru.ac.th
Role: ประธานกรรมการที่ปรึกษา
Role: กรรมการที่ปรึกษา
Role: กรรมการที่ปรึกษา
Date
Created: 2548-09-21




Title
การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี
Title Alternative
A STUDY OF ADMINISTRATORS MANAGERIAL SKILLS IN THE PRIMARY SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF SUPHANBURI PROVINCIAL PRIMARY EDUCATION

Classification :.DDC: 371.201072
Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาทักษะการบริหารและเปรียบเทียบทักษะ การบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของผู้บริหารและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี ตามแนวคิดทักษะการบริหารของโรเบิร์ต แอล แคทซ์ 3 ทักษะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 554 คน แยกเป็นผู้บริหารจำนวน 202 คน และครูผู้สอน 352 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับทักษะการบริหารตามแนวคิดของโรเบิร์ต แอล แคทซ์ ทั้ง 3 ทักษะคือ ทักษะด้านเทคนิค ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ ทักษะด้านคตินิยม จำนวน 53 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับรวมเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ (frequencies), ค่าร้อยละ (percentage), ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.), ค่าเฉลี่ย ( ), และค่าที (t-test) แบบ independent groups ผลการวิจัย 1. ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของผู้บริหารและครูผู้สอนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี ด้านเทคนิค โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2. ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของผู้บริหารและครูผู้สอนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของผู้บริหารและครูผู้สอนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี ด้านคตินิยม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4. ผลการเปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของผู้บริหารและครูผู้สอนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี ทั้ง 3 ด้านคือ ทักษะด้านเทคนิค ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ และทักษะด้านคตินิยม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางทางสถิติที่ระดับ 0.05
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: กาญจนบุรี
Email: tdc@kru.ac.th
Role: ประธานกรรมการที่ปรึกษา
Role: กรรมการที่ปรึกษา
Date
Created: 2546
Issued: 2548-09-28



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้